100 ตอน

ประชาไท พอดแคส | Prachatai Podcast | ใต้โต๊ะนักข่าว

Prachatai Podcast prachataipodcast

    • ข่าว
    • 4.6 • 10 รายการจัดอันดับ

ประชาไท พอดแคส | Prachatai Podcast | ใต้โต๊ะนักข่าว

    อ่านสถาปัตยกรรมอำนาจผ่านการออกแบบรัฐสภา | หมายเหตุประเพทไทย

    อ่านสถาปัตยกรรมอำนาจผ่านการออกแบบรัฐสภา | หมายเหตุประเพทไทย

    หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ต่อศักดิ์ จินดาสุขศรี พูดคุยกับ ชานันท์ ยอดหงษ์ ตั้งประเด็นรัฐสภาไทยแห่งใหม่ "สัปปายะสภาสถาน" ที่ประชาชนผู้ไปติดต่อรัฐสภาต่างสะท้อนถึงรูปร่างหน้าตาของรัฐสภาที่ใหญ่โตโอ่อ่า แต่กลับเข้าถึงยาก
    พร้อมชวนพิจารณาการออกแบบที่ประชุมรัฐสภาในที่ต่างๆ ทั่วโลก ว่ามีผลกับพฤติกรรม และการอภิปรายของสมาชิกรัฐสภา รวมทั้งรูปแบบการปกครอง และความสัมพันธ์เชิงอำนาจอย่างไร ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย

    เรื่องที่เกี่ยวข้อง
    ความรุนแรงทางการเมือง และการเมืองเรื่องความทรงจำ | หมายเหตุประเพทไทย EP.517
    หอยนางรมในวรรณกรรมกับจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อม | หมายเหตุประเพทไทย EP.516

    • 26 นาที
    ความรุนแรงทางการเมือง และการเมืองเรื่องความทรงจำ | หมายเหตุประเพทไทย

    ความรุนแรงทางการเมือง และการเมืองเรื่องความทรงจำ | หมายเหตุประเพทไทย

    หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ประภาภูมิ เอี่ยมสม และต่อศักดิ์ จินดาสุขศรี พูดถึงการเมืองเรื่องความทรงจำ โดยภายหลังเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านหลังเหตุนั้น ไม่ได้มีเพียงแค่การนำคนผิดมาลงโทษ แต่รวมถึงการค้นหาความจริง และการเยียวยาในหลายมิติ
    และอีกประการหนึ่งก็จะพิจารณาด้วยว่าเหตุการณ์ที่เกิดไปแล้ว ถูกจดจำเล่าถึงอย่างไร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในอดีตอาจจดจำ มองเห็น เหตุการณ์ดังกล่าวแตกต่างกัน การเมืองเรื่องความทรงจำจึงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย การเลือกจำ การจำ การลืมก็เป็นการเมืองของความทรงจำเช่นกัน โดยกรณีของสังคมไทยที่ยกเป็นกรณีศึกษาได้ เช่น กรณีคนเสื้อแดง และเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 #หมายเหตุประเพทไทย #ความทรงจำ #Politicsofmemory

    • 26 นาที
    อนุกรรมการ soft power หนังสือและความฝันถึงสถาบันหนังสือ | BookBar Ep.2

    อนุกรรมการ soft power หนังสือและความฝันถึงสถาบันหนังสือ | BookBar Ep.2

    Soft power คำนี้หมายถึงอะไรยังถกเถียงกันไม่จบ แต่เมื่อเพื่อไทยขึ้นเป็นรัฐบาลได้ไม่นานก็ตั้งคณะกรรมการด้านพัฒนาซอฟท์พาวเวอร์แห่งชาติซึ่งประกอบด้วยอนุกรรมการชุดต่างๆ หนึ่งในนั้นคือคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านหนังสือ จะมากจะน้อยบรรดาหนอนหนังสือคงคาดหวังว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในแวดวงหนังสือ 
    #BookBar ชวน ธีรภัทร เจริญสุข หนึ่งในคณะอนุกรรมการฯ มาสนทนาถึงสิ่งที่อนุฯ จะทำในอนาคตกับความฝันถึงสถาบันหนังสือแห่งชาติที่จะเป็นกลไกทำงานต่อเนื่องที่รับงบประมาณมาสานงานเพื่อวงการหนังสือไทย
    #PrachataiPodcast #BookBar #Prachatai #softpower #หนงสือ #book

    • 42 นาที
    หอยนางรมในวรรณกรรมกับจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อม | หมายเหตุประเพทไทย

    หอยนางรมในวรรณกรรมกับจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อม | หมายเหตุประเพทไทย

    ประภาภูมิ เอี่ยมสม และภาวิน มาลัยวงศ์ ชวนอาจารย์มิ่ง ปัญหา จากสาขาวิชาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองวรรณกรรมอังกฤษและจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อมผ่านการบริโภคหอยนางรม ทั้งนี้ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 การเพาะเลี้ยง การบริโภคหอยนางรมของชาวตะวันตก เป็นที่นิยมของทุกชนชั้น ไม่ว่าจะยากดีมีจน หากแต่การแบ่งชนชั้นอยู่ที่วิธีปรุง หรือสถานที่รับประทาน หอยขนาดเล็กหรือใหญ่ อย่างน้อยในศตวรรษที่ 19 ผู้ดีมีฐานะย่อมไม่แคะหอยนางรมกินที่แผงขายหอยริมท่าเรือ
    อย่างไรก็ตามมีจุดเปลี่ยนในศตวรรษที่ 20 เมื่อประชากรเพิ่มขึ้นเร่งอัตราบริโภคหอยนางรมมากขึ้นจนหอยนางรมจากฟาร์มเพาะเลี้ยงโตไม่ทัน ทำให้ปริมาณหอยนางรมลดน้อยลง และกลายเป็นของแพง ซึ่งความเปลี่ยนแปลงนี้ปรากฏชัดในงานวรรณกรรม และแนวคิดต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมในโลกตะวันตก ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย

    • 24 นาที
    นักเขียนผีแห่งสยาม | since 2475 EP.1

    นักเขียนผีแห่งสยาม | since 2475 EP.1

    #PrachataiPodcast คุยกับ ‘ภูมิ’ ธนิสร์ วีระศักดิ์วงศ์ เจ้าของนามปากกา ‘สะอาด’ ที่มาพร้อมกับผลงานชิ้นใหม่ นิยายกราฟิกอิงประวัติศาสตร์ “2475 นักเขียนผีแห่งสยาม” ที่จะมาเล่าให้ฟังตั้งแต่จุดเริ่มต้นของนิยายกราฟิก ที่หยิบยกเรื่องราวประวัติศาสตร์ 2475 การหายไปของบางตัวละคร มุมมองของเขาต่อคณะราษฎร และการเมืองไทยในปัจจุบัน
    Prachatai Podcast ‘since 2475’  เป็นรายการที่พาย้อนไปในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เพื่อทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ ในมิติต่างๆ ความคิด ความฝัน และผลกระทบจากวันนั้นจนถึงปัจจุบัน
    #PrachataiPodcast #since2475

    • 1 ชั่วโมง 9 นาที
    นางนาก (2542) | หมายเหตุประเพทไทย

    นางนาก (2542) | หมายเหตุประเพทไทย

    เพื่อระลึกถึงการจากไปของ “วินัย ไกรบุตร” หมายเหตุประเพทไทย [Live] เทปนี้พูดถึงภาพยนตร์นางนาก (2542) ที่แสดงนำโดย วินัย ไกรบุตร และอินทิรา เจริญปุระ กำกับโดย นนทรีย์ นิมิบุตร ทั้งนี้ภาพยนตร์นางนาก (2542) ซึ่งอิงกับเรื่องผีแม่นาคพระโขนง ผลิตและฉายในช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ได้รับเสียงตอบรับทั้งในเชิงรายได้และรางวัลทั้งในและนอกประเทศ และในอีกด้านหนึ่งก็สะท้อนกระแสโหยหาอดีต และโหยหาความเป็นไทยของสังคมไทยในช่วงที่ประสบวิกฤตเศรษฐกิจในเวลานั้น ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย [Live]
    อ่านบทความประกอบ (1) อิทธิเดช พระเพ็ชร, จาก “โหยหา” ถึง “โมโห”: อ่านอาการสังคม ในภาพยนตร์ไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง (พ.ศ. 2540-2546), ใน วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (2018): กรกฎาคม-ธันวาคม 2561 [อ่านบทความ]
    (2) ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์, “ความสมจริงของ (หนัง) นางนาก และความผิดปกติของสังคมไทยหลังพิษเศรษฐกิจ 2540”, ใน The101.world, 27 กรกฎาคม 2564 [อ่านบทความ]

    • 37 นาที

ความเห็นของลูกค้า

4.6 จาก 5
10 รายการจัดอันดับ

10 รายการจัดอันดับ

พ็อดคาสท์ยอดนิยมประเภทข่าว

THE STANDARD PODCAST
THE STANDARD
Global News Podcast
BBC World Service
SONDHI TALK
sondhitalk
NHKラジオニュース
NHK (Japan Broadcasting Corporation)
THE STANDARD NOW
THE STANDARD
The Daily
The New York Times

รายการที่คุณน่าจะชอบ

101 Podcast
The101.world
คุยให้คิด
Thai PBS Podcast
THE STANDARD PODCAST
THE STANDARD
The Secret Sauce
THE STANDARD
แปดบรรทัดครึ่ง
ต้อง กวีวุฒิ
The Library
THE LIBRARY