864 episodes

โรงหมอ

โรงหม‪อ‬ Thai PBS Podcast

    • TV & Film
    • 4.6 • 18 Ratings

โรงหมอ

    โรงหมอ EP. 950: ดูแลผู้สูงอายุอย่างไร ให้เขามีความสุขรู้สึกปลื้มปริ่ม

    โรงหมอ EP. 950: ดูแลผู้สูงอายุอย่างไร ให้เขามีความสุขรู้สึกปลื้มปริ่ม

    เพราะสุขภาพของผู้สูงอายุได้เสื่อมสภาพไม่แข็งแรงเหมือนครั้งตอนเป็นวัยรุ่นวัยผู้ใหญ่ การดูแลจากลูกหลานหรือคนใกล้ชิด จึงมีส่วนสำคัญอย่างมากที่ช่วยให้การดำเนินกิจกรรมประจำวันเป็นไปด้วยความปกติ แล้วไม่เกิดอุบัติเหตุ ไม่เพียงแค่สุขภาพทางร่างกายเท่านั้น สุขภาพทางจิตใจก็สำคัญกับคนวัยนี้เช่นเดียวกัน แม้ว่าพวกเขาจะผ่านร้อนผ่านหนาวมาเป็นเวลานานแล้ว ความสุขก็ยังเป็นสิ่งที่คนวัยนี้ต้องการ แต่สำหรับลูกหลานจะทำอย่างไรให้คนในวันนี้มีความสุข รู้สึกปลื้มปริ่ม
    รายการ โรงหมอ

    • 29 min
    โรงหมอ EP. 949: เบื่ออาหาร อาจเป็นสัญญาณของโรคร้าย

    โรงหมอ EP. 949: เบื่ออาหาร อาจเป็นสัญญาณของโรคร้าย

    เบื่ออาหาร (Loss of Appetite) เป็นอาการไม่รู้สึกอยากว่ากินแม้กำลังหิว ความต้องการอาหารลดลง ปฏิเสธแม้เป็นเมนูที่ชอบกิน หรือปฏิเสธการกินอาหารในปริมาณปกติ ซึ่งอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยก็ได้ เช่น น้ำหนักลด ขาดสารอาหาร แต่หากการเบื่ออาหารแล้วมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากกว่า 24 ชั่วโมง กินไม่ได้หลายวัน น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยใน 1 เดือนลดลง 5% หรือ 3 เดือนลดลง 10% จากน้ำหนักเดิม (ที่ไม่ได้มาจากการออกกำลังกาย) ปัสสาวะน้อยแต่มีกลิ่นแรงและสีเข้ม ดื่มน้ำหรือกลืนของเหลวไม่ได้ อาการแบบนี้ถือเป็นอันตรายให้รีบไปพบแพทย์ อาการเบื่ออาหารเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายอะไรบ้าง ต้องปรับหรือทำอย่างไร รายการ โรงหมอ

    • 26 min
    โรงหมอ EP. 948: ปากหนัก ไม่พูด แต่รักนะ กับการบอกรักผ่านภาษากาย

    โรงหมอ EP. 948: ปากหนัก ไม่พูด แต่รักนะ กับการบอกรักผ่านภาษากาย

    การบอกว่า รัก กับคนที่รู้สึกพิเศษที่มีความสัมพันธ์ในฐานแฟนหรือคู่รัก เป็นคำที่ทำให้รู้สึกใจฟู ช่วยเติมเต็มให้ความสัมพันธ์แน่นและราบรื่นยิ่งขึ้น ที่สำคัญทำให้รู้สึกดีต่อคนที่ถูกบอกรัก แต่การแสดงความรักด้วยการบอกรักจากปาก ไม่ใช่ทุกคนจะทำได้ บางคนเขินอายเกินกว่าที่จะบอก จึงมักใช้วิธีอื่นเพื่อให้รู้ว่ารักนะ
    การไม่บอกว่ารักออกมาเป็นคำพูด ไม่ได้แปลว่าเขาไม่รัก แต่เราต้องรู้จักการสังเกตผ่านการกระทำ หรือที่เรียกว่า ภาษากาย ซึ่งสามารถแสดงออกได้หลายอย่างผ่านสีหน้าแววตา การกระทำบางอย่างที่เราต้องการอาจไม่เคยร้องขอแต่เขาก็ทำให้อย่างเต็มใจ ผ่านการดูแลใกล้ชิด หรือแม้แต่การปรับปรุงพฤติกรรมบางอย่างเพื่อให้ชีวิตคู่ราบรื่นยิ่งขึ้น การแสดงออกที่บอกว่า "รักนะ" ผ่านภาษากาย มีอะไรบ้าง รายการ โรงหมอ เล่าให้ฟังค่ะ

    • 26 min
    โรงหมอ EP. 947: เหตุฉุกเฉินกับการใช้เครื่องเออีดี (AED) เพิ่มโอกาสรอดชีวิต

    โรงหมอ EP. 947: เหตุฉุกเฉินกับการใช้เครื่องเออีดี (AED) เพิ่มโอกาสรอดชีวิต

    เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า หรือ เออีดี (Automated External Defibrillator: AED) เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สำคัญอย่างมากต่อการช่วยชีวิตในเหตุการณ์ฉุกเฉินจากกลุ่มโรคหรือภาวะเกี่ยวกับหัวใจ หรือเหตุการณ์อื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ โดยต้องทำควบคู่กับการทำ ซีพีอาร์ (Cardiopulmonary Resuscitation: CPR) จากการศึกษาวิจัยพบว่า การช่วยชีวิตด้วยการทำ CPR ผู้ป่วยมีอัตรารอดชีวิตอยู่ที่ 5% แต่หากใช้เครื่อง AED โอกาสการรอดชีวิตเพิ่มขึ้น 40-50% แม้เครื่องนี้พบเห็นได้ตามสถานที่สาธารณะมากขึ้น แต่ปัญหาที่พบสำหรับคนไทยนอกจากใช้ไม่เป็นแล้ว "ยังไม่กล้าหยิบมาใช้"
    การใช้งานเครื่องนี้ที่ว่าง่าย ง่ายอย่างไร อาการแบบไหนต้องใช้เครื่องนี้และร่วมกับการทำ CPR ที่สำคัญระหว่างใช้เครื่องนี้มีอะไรต้องระวังโดยเฉพาะ "ไทยมุง" รายการ โรงหมอ เล่าให้ฟังค่ะ

    • 26 min
    โรงหมอ EP. 946: กระดูกแข็งแรงด้วย Bone-Biotics จากโพรไบโอติก

    โรงหมอ EP. 946: กระดูกแข็งแรงด้วย Bone-Biotics จากโพรไบโอติก

    โพรไบโอติก (Probiotics) เป็นจุลินทรีย์ชนิดีที่ยังมีชีวิตอยู่บริเวณลำไส้ของมนุษย์ เช่น แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ในลำไส้เล็ก หรือ ไบฟีโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) ในลำไส้ใหญ่ โดยความเข้าใจของคนส่วนใหญ่เกี่ยวกับโพรไบโอติก คือ ช่วยให้การขับถ่ายทำได้ง่ายขึ้น ท้องไม่ผูก ไม่เสี่ยงต่อริดสีดวงทวารหนัก ลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ หรือแม้แต่การเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ซึ่งเป็นสิ่งที่เข้าใจถูกต้อง แต่ยังมีประโยชน์มากกว่านั้นทั้งเรื่องสุขภาพสมอง ระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมถึง กระดูก โดยมีศาสตร์ความรู้ใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นมาคือ "โบนไบโอติก (Bone-Biotics)" ศาสตร์ที่ทำให้รู้และเข้าได้ว่า โพรไบโอติกมีผลโดยตรงกับสุขภาพกระดูกด้วย โบนไบโอติก คืออะไร ส่งผลโดยตรงกับกระดูกอย่างไร มีมากในอาหารประเภทและชนิดไหน รายการโรงหมอ เล่าให้ฟังค่ะ

    • 27 min
    โรงหมอ EP. 945: ปานแต่กำเนิด

    โรงหมอ EP. 945: ปานแต่กำเนิด

    ความผิดปกติของผิวหนัง เกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ ปานแต่กำเนิด ก็เป็นหนึ่งในความผิดปกตินั้นเช่นเดียวกัน โดยเกิดจากเม็ดสีผิวที่พบได้ตั้งแต่ทารกแรกเกิด มีหลากหลายชนิด บางชนิดหายเองได้ บางชนิดคงตัวไม่เปลี่ยนแปลง หรือบางชนิดเมื่อเติบโตขึ้นก็จะใหญ่ตามขึ้นไปด้วย ปานแต่ละชนิดสังเกตได้ง่ายและชัดเจนจากสี เช่น ปานแดง ปานดำ หรือปานน้ำตาล โดยปัจจัยขึ้นอยู่กับเซลล์ที่ผิดปกติว่าเป็นเซลล์อะไร อยู่ในผิวระดับตื้นหรือลึก ปานแต่กำเนิด แต่ละชนิดเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เกิดขึ้นในตำแหน่งใดบ้าง หากปานขยายใหญ่ขึ้นอันตรายหรือไม่ รวมถึงเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับปาน รายการ โรงหมอ เล่าให้ฟังค่ะ

    • 29 min

Customer Reviews

4.6 out of 5
18 Ratings

18 Ratings

Top Podcasts In TV & Film

เล่ารอบโลก
Thai PBS Podcast
คุยให้คิด
Thai PBS Podcast
Scoop Viewfinder
Gene Viewfinder
Thai PBS Podcast
Thai PBS Podcast
หูยาวเล่าเรื่อง
Thai PBS Podcast
เศรษฐกิจติดบ้าน
Thai PBS Podcast

You Might Also Like

Single Being
Single Being
THE STANDARD PODCAST
THE STANDARD
Nopadol’s Story
nopadolstory
เล่ารอบโลก
Thai PBS Podcast
Keep Me Busy
Infinity Podcast (ประเทศไทย)
ลงทุนแมน
longtunman