24 episodes

Podcast by Faculty of Science, Mahidol University / พอร์ดแคสต์ โดย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

SIMPLE SCIENCE Faculty of Science, Mahidol University

    • Science
    • 5.0 • 6 Ratings

Podcast by Faculty of Science, Mahidol University / พอร์ดแคสต์ โดย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    Radiation safety...save ใจ รู้ไว้ปลอดภัยถ้วนหน้า

    Radiation safety...save ใจ รู้ไว้ปลอดภัยถ้วนหน้า

    ประเดิมเรื่องแรกกับเรื่องน่ารู้ความปลอดภัยทางรังสี (Radiation Safety) แบบสั้น ๆ คัดมาเน้น ๆ เพราะเรื่องรังสี ไม่ได้อยู่ไกลตัวอีกต่อไป จากเหตุการณ์ซีเซียม-137 ซึ่งเป็นวัตถุกัมมันตรังสี ที่ส่งผลต่อสุขภาพ หายไปจากโรงงาน แล้วพบว่าถูกถลุงเป็นฝุ่นแดงเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

    • 11 min
    เกร็ดน่ารู้วัคซีนโควิด - 19

    เกร็ดน่ารู้วัคซีนโควิด - 19

    ปัจจุบันการระบาดของโควิด-19 ทำได้เราได้เห็นถึงเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนที่น่าทึ่ง มีการผลิตวัคซีนหลากหลายประเภทออกมาเพื่อหยุดยั้งการระบาดของโรค ไม่ว่าจะเป็น Inactivated vaccine Viral vector vaccine Subunit vaccine หรือ mRNA vaccine แต่รู้หรือไม่เทคโนโลยีการผลิตวัคซีนบางชนิดมีมาก่อนที่จะเกิดการระบาดครั้งใหญ่ และบางเทคโนโลยีก็ต่อยอดมาจากเทคโนโลยีอื่น เช่น ยีนบำบัด (gene therapy) มาฟังเกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีน ทั้งความเป็นมา หลักการทำงาน และความพิเศษของเทคนิคการผลิตวัคซีนแต่ละชนิด พร้อมอัปเดตวัคซีนไทยที่น่าจับตามอง กับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ผู้มากความสามารถ หนึ่งในผู้เขียนหนังสือ Vaccine War สมรภูมิวัคซีนโควิด-19 ผู้แปลหนังสือ เมื่อโลกติดเชื้อ ฉบับกระชับ บรรณาธิการหนังสือ ไวรัส ฉบับกระชับ คอลัมน์นิสต์ประจำมติชนสุดสัปดาห์ กรุงเทพธุรกิจ ทั้งยังฝากผลงานไว้บนนิตยสาร อาทิ สาระวิทย์ สารคดี Update Science World รวมถึง Facebook page ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ย่อยง่ายอีกหลายแห่ง















    01:50 ความเป็นมาของการมีวัคซีน และที่มาที่ไปของวัคซีนเชื้อตาย (Inactivated vaccine)







    รูปภาพอธิบายหลักการผลิตวัคซีนเชื้อตาย







    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ เล่าถึงวัตถุประสงค์และความเป็นมาของการฉีดวัคซีน ว่าเป็นการทำให้ร่างกายรู้จักเชื้อก่อโรคก่อน โดยมีวิธีการหนึ่งก็คือการทำให้เชื้อก่อโรคตายแล้วฉีดเข้าไปในร่างกาย ซึ่งเทคนิคนี้มีการพัฒนาขึ้นมาก่อนจะมีการระบาดของโรคโปลิโอแต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก จนกระทั่งมีการใช้ควบคุมการระบาดของโปลิโอ ส่วนโรคโควิด-19 ได้ยกตัวอย่างประเภทเชื้อตายที่มีการใช้กันมา

    • 37 min
    พลิกหลังกล่องหน้ากากอนามัย

    พลิกหลังกล่องหน้ากากอนามัย

    ปฏิเสธไม่ได้ว่าหน้ากากอนามัย กลายเป็นหนึ่งในสิ่งจำเป็นในยุคนี้ไปเสียแล้ว เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งมีการกลายพันธุ์และแพร่กระจายเป็นวงกว้างอย่างต่อเนื่อง เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการพูดถึงประสิทธิภาพของหน้ากากอนามัยในการป้องกันโควิด-19 และตัวย่อ BFE, PFE, VFE บนกล่องหน้ากากอนามัยกันเป็นวงกว้างในโซเชียลมีเดีย จนทำให้หลายคนเกิดความวิตกกังวลว่าหน้ากากอนามัยที่เราใส่อยู่สามารถป้องกันโควิด-19 ได้หรือไม่







    มาพลิกหลังกล่องหน้ากากอนามัย ไขความหมายของตัวย่อ BFE, PFE, VFE ทำความเข้าใจประสิทธิภาพของหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันโควิด-19 ไปกับ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติทัศน์ สุบรรณจุ้ย อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล















    01:12 BFE, PFE, VFE บนกล่องหน้ากากอนามัยหมายถึงอะไร







    รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติทัศน์ สุบรรณจุ้ย กล่าวถึงความหมายของ BFE, PFE, VFE บนกล่องหน้ากากอนามัยอย่างคร่าว ๆ















    02:14 ต้องเป็นหน้ากากอนามัยที่ได้ VFE 99% เท่านั้นไหม ถึงจะป้องกันไวรัสได้







    รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติทัศน์ สุบรรณจุ้ย อธิบายถึงรายละเอียดภายใต้มาตรฐาน BFE, PFE, VFE ประเภทละอองในอากาศ (Arosol Type) ที่ใช้ในการทดสอบ ขนาดอนุภาคที่สามารถกรองได้ และข้อมูลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการกรองของหน้ากากอนามัยมาตรฐานแบบต่าง ๆ ตามผลงานวิจัยเรื่อง A comparison of facemask and respirator filtration test methods โดย Samy Rengasamy, Ronald Shaffer, Brandon Williams & Sarah Smit ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Journal of Occupational and Environmental Hygiene















    11:28 ละอองในอากาศที่จัดว่าเป็นละอองฝอยขนาดเล็ก (Airborne) มีขนาดเท่าไหร่







    รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติทัศน์ สุบรรณจุ้ย กล่าวถึงขนาดโดยประมาณของละอองฝอยขนาดเล็ก (Airborne) เช่น PM10 PM 2.5 แบคทีเรีย ไวรัสก่อโรค

    • 24 min
    ไขความลับพลังความเร็ว 100 เมตร ในการแข่งขันโตเกียวโอลิมปิกเกมส์ 2020

    ไขความลับพลังความเร็ว 100 เมตร ในการแข่งขันโตเกียวโอลิมปิกเกมส์ 2020

    มาพูดคุยกันต่อเนื่องถึงเบื้องหลังที่ทำให้นักกีฬา วิ่งได้เร็วกว่าคนทั่ว ๆ ไป ความอัศจรรย์ของร่างกายมนุษย์ และปัจจัยที่พานักวิ่งไปสู่เหรียญทองโตเกียวโอลิมปิกเกมส์ ในสนามการแข่งขันวิ่ง 100 เมตรไปกับ รองศาสตราจารย์ ดร.เทพมนัส บุปผาอินทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาสรีรวิทยา ประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสรีรวิทยาการออกกำลังกาย (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล















    00:46 ทำไมนักวิ่งถึงทำเวลาได้น้อยกว่าคนทั่วไป







    รองศาสตราจารย์ ดร.เทพมนัส บุปผาอินทร์ เกริ่นถึง 4 ปัจจัยที่ทำให้นักวิ่งทำเวลาได้น้อยกว่าคนทั่วไป และสามารถคว้าชัยในการแข่งขันได้ และปูความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเคลื่อนที่เบื้องต้น ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่เชื่อมโยงกับปัจจัยทั้ง 4 อย่างที่ส่งผลต่อการวิ่งระยะสั้นโดยตรง







    หลักการในการเคลื่อนที่เบื้องต้น







    ลักษณะการถีบตัวเพื่อเคลื่อนที่ต้านแรงโน้มถ่วงของโลก และความหนาแน่นอากาศ (แรงลม)















    04:18 ปัจจัยทางสรีรวิทยา (Physiological Factor)







    เมื่อการวิ่งคือการออกแรงผลักตัวเองให้เคลื่อนไปข้างหน้า ทำอย่างไรเราจึงจะสร้างแรงถีบพื้นส่งตัวให้พุ่งออกไปข้างหน้าได้แรงที่สุด และสร้างความเร็วได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที รองศาสตราจารย์ ดร.เทพมนัส บุปผาอินทร์ อธิบายถึงกล้ามเนื้อและระบบพลังงานที่ร่างกายใช้ในการวิ่งระยะสั้น และระบบประสาทและการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นซึ่งส่งผลโดยตรงกับการออกตัวของนักกีฬาพร้อมยกกรณีตัวอย่าง นอกจากนั้นยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงพันธุกรรม การฝึกฝนที่มีส่วนในการเพิ่มปริมาณกล้ามเนื้อ และอิทธิพลของฮอร์โมนเพศต่อการเพิ่มขนาดกล้ามเนื้ออีกด้วย







    ปัจจัยทางสรี

    • 33 min
    ส่องสถิตินักวิ่งลมกรด 100 เมตรในโตเกียวโอลิมปิกเกมส์ 2020

    ส่องสถิตินักวิ่งลมกรด 100 เมตรในโตเกียวโอลิมปิกเกมส์ 2020

    การแข่งขันวิ่งอยู่คู่กับกีฬาโอลิมปิกเกมส์มาตั้งแต่ครั้งยุคโบราณ และโอลิมปิกเกมส์ยุคใหม่ซึ่งเริ่มจัดขึ้นในปี ค.ศ. 1896 จนกระทั่งปัจจุบัน ผ่านมากว่า 125 ปี การแข่งขันวิ่งก็ยังเป็นหนึ่งในไฮไลท์ของกีฬากรีฑา ที่ผู้คนจับตามองเป็นอย่างมากว่าใครจะถูกจารึกชื่อเป็นมนุษย์ที่เร็วที่สุดในโลก ในการแข่งขันโตเกียวโอลิมปิกส์เกมส์ 2021 ซึ่งได้ทำการแข่งขันประเภทวิ่งทุกรายการเสร็จสิ้นในวันที่ 8 สิงหาคม 2564 นี้















    แน่นอนว่า ความตื่นเต้น ระทึกใจ นับเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของการเชียร์นักวิ่งทุกประเภท โดยเฉพาะการแข่งขันประเภทวิ่งประเภท 100 เมตร ซึ่งนักวิ่งลมกรดทั้งหลายต่างฝึกซ้อมกันนานแรมปี เพื่อเค้นพลังชิงชัยกันในเวลาไม่กี่วินาทีเท่านั้น ส่องสถิตินักวิ่ง 100 เมตร ในโตเกียวโอลิมปิกเกมส์ และสถิติวิ่ง 100 เมตร ที่ดีที่สุดของการแข่งโอลิมปิกเกมส์ยุคใหม่ รวมถึงสถิติของนักวิ่งระยะ 100 เมตร ที่ชาวไทยเคยทำไว้ในการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ไปกับ รองศาสตราจารย์ ดร.เทพมนัส บุปผาอินทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาสรีรวิทยา ประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสรีรวิทยาการออกกำลังกาย (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล















    01:38 การแข่งวิ่งกับโอลิมปิกเกมส์







    การแข่งขันโอลิมปิกเกมส์เริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ ที่ไหน รองศาสตราจารย์ ดร.เทพมนัส บุปผาอินทร์ เล่าถึงความเป็นมาของการแข่งกีฬากีรฑาทั้งประเภทลาน และประเภทลู่ซึ่งรวมถึงการวิ่ง ที่อยู่คู่กับโอลิมปิกเกมส์มาตั้งแต่ยุคโบราณ จนกระทั่งเปลี่ยนผ่านสู่การโอลิมปิกเกมส์สมัยใหม่ในปี ค.ศ. 1896  รวมถึงผู้ชนะการแข่งขันวิ่ง 100 เมตร ชายและหญิงในโอลิมปิกเกมส์ยุคใหม่ครั้งแรก















    04:2

    • 15 min
    ฉลามไทยน่ารักษ์

    ฉลามไทยน่ารักษ์

    ใต้ท้องทะเลที่สวยงาม มีสิ่งมีชีวิตแสนพิเศษนานาชนิดอาศัยอยู่ รวมถึง ฉลาม ปลากระดูกอ่อนที่มีวิวัฒนาการมายาวนานอย่างที่น่าทึ่ง หนึ่งในนักล่าแห่งท้องทะเล ซึ่งกำลังถูกคุมคามทั้งจากการบริโภคของมนุษย์ และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงในปัจจุบัน















    เราอาจจะคิดว่าเดิมทีน่านน้ำประเทศไทยมีฉลามอาศัยอยู่น้อย แต่รู้หรือไม่ว่าน่านน้ำทะเลไทยก็จัดเป็นพื้นที่มีความหลากหลายทางชนิดของปลากระดูกอ่อนมากแห่งหนึ่งของโลก โดยมีปลากระดูกอ่อนอย่างน้อย 187 ชนิด แบ่งเป็นฉลามกว่า 87 ชนิด กระเบน 95 ชนิด และไคเมรา 5 ชนิด ซึ่งในจำนวนนี้ยังมี 13 ชนิดที่ยังไม่มีชื่ออย่างเป็นทางการเนื่องจากมีลักษณะบางส่วนที่แตกต่างจากชนิดที่เคยมีการศึกษามาก่อนซึ่งต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกด้วย















    เปิดโลกใต้ทะเลไปรู้จักฉลามไทย ซึ่งกำลังลดจำนวนลง และต้องการการปกป้องอนุรักษ์เอาไว้ไม้แพ้สัตว์ชนิดอื่น ๆ ในวัน Shark Awareness Day ซึ่งตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคม นี้ ไปกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจนจิต คูดำรงสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา















    01:30 ทะเลในประเทศไทยมีฉลามอยู่ไหม







    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจนจิต คูดำรงสวัสดิ์ กล่าวถึงน่านน้ำประเทศไทยตามการแบ่งเขตภูมิศาสตร์ทางทะเลแบบต่าง ๆ ว่าเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของปลากระดูกอ่อนและฉลามมากแห่งหนึ่งของโลกแต่ยังขาดการสำรวจอยู่มาก















    03:36 ฉลามไทยมีกี่สายพันธุ์







    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจนจิต คูดำรงสวัสดิ์ เล่าถึงสายวิวัฒนาการ ความแตกต่างของปลาประดูกอ่อนทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ ฉลาม กระเบน และไคเมรา จำนวนชนิดพันธุ์ปลากระดูกอ่อนในประเทศไทยซึ่งมีการเก็บข้อมูลมาอย่างยาวนานโดยค

    • 31 min

Customer Reviews

5.0 out of 5
6 Ratings

6 Ratings

Top Podcasts In Science

TOP TO TOE
THE STANDARD
Weirdทยาศาสตร์
Salmon Podcast
WiTcast
WiTcast
The Why File งานวิจัยใช่ว่าไม่สนุก
Salmon Podcast
Radiolab
WNYC Studios
Hidden Brain
Hidden Brain, Shankar Vedantam